วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

การตีสอน (สุภาษิต)

(สภษ.5.12-14) ข้าเคยเกลียดการตีสอนเสียจริงๆ และจิตใจข้าดูหมิ่นการตักเตือน ข้าไม่เคยฟังเสียงครูของข้า หรือเอียงหูให้แก่ผู้สั่งสอนข้า ข้าจวนจะล้มละลายสู่ความพินาศอยู่รอมร่อในหมู่คนที่ประชุมกันอยู่นั้น
(สภษ.10.13)    แต่ไม้เรียวเหมาะสำหรับหลังของผู้ที่ขาดสามัญสำนึก
(สภษ.13.24)    บุคคลที่สงวนไม้เรียวก็เกลียดบุตรชายของตน แต่ผู้ที่รักเขาพยายามตีสอนเขา
(สภษ.17.10)    คำขนาบเข้าไปในคนที่มีความเข้าใจ ลึกยิ่งกว่าเฆี่ยนคนโง่สักร้อยที
(สภษ.19.18)    จงตีสอนบุตรชายของตนเมื่อยังมีความหวัง อย่าจงใจให้เขาถึงพินาศไป
(สภษ.20.30)    การเฆี่ยนที่ให้เป็นบาดแผล ก็ชำระความชั่วเสีย การโบยตีกระทำให้ส่วนที่ลึกที่สุดสะอาดสะอ้าน
(สภษ.22.6)      จงฝึกเด็กในทางที่เขาควรจะเดินไป และเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขาจะไม่พรากจากทางนั้น
(สภษ.22.15)    ความโง่มักอยู่ในใจของเด็ก แต่ไม้เรียวที่ตีสอนก็ขับมันให้ห่างไปจากเขา
(สภษ.22.13)    อย่ายับยั้งการตีสอนจากเด็ก ถ้าเจ้าตีเขาด้วยไม้เรียวเขาจะไม่ตาย ถ้าเจ้าตีด้วยไม้เรียว เข้าจะช่วยเขาให้รอดจากแดนผู้ตาย
(สภษ.26.3)      แส้สำหรับม้า บังเหียนสำหรับลา และไม้เรียวสำหรับคนโง่
(สภษ.28.23)    บุคคลที่ขนาบคนหนึ่งคนใด ทีหลังเขาจะได้รับความชอบมากกว่าคนที่ป้อยอด้วยลิ้นของตัว
(สภษ.29.15)    ไม้เรียวและคำตักเตือนให้เกิดปัญญา แต่ถ้าปล่อยเด็กไว้โดยลำพัง จะทำความอับอายมาสู่มารดาตน
(สภษ.29.17)    จงฝึกสอนบุตรชายของเจ้า และเขาจะให้เจ้าได้หยุด เออ เขาจะให้ความปิติยินดีแก่ใจ ของเจ้า
โดย สาธุคุณ ดร.วัลย์ เพชรสงคราม
คริสตจักรร่มเกล้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น